สมบัติของธาตุทรานซิชัน

สมบัติของธาตุทรานซิชัน


1.  การจัดอิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชัน  โลหะในคาบที่ 4 มีเลขอะตอม 21  ถึง 30  จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ยกเว้น Cr และ Cu  มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1  คล้ายกับของธาตุหมู่ 1และ IIA  ซึ่งการจัดอิเล็กตรอนของธาตุหมู่ IA และ IIA  อิเล็กตรอนที่เพิ่มขึ้นมาจะจัดเข้าอยู่ในระดับพลังงานย่อย 4s–orbital  แต่ธาตุแทรนซิชันจะจัดอิเล็กตรอนเพิ่มใน 3d–orbital
                  ก.  การจัดอิเล็กตรอนของ Cr คือ 1s2  ,  2s22p6  ,  3s23p43d5  ,  4s1 ซึ่งการจัดลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะ half filled electronic configuration โดยระดับพลังงานย่อยของ 3d–orbital มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ออร์บิทัลละ 1 อิเล็กตรอน
                  ข.  การจัดอิเล็กตรอนของ Cu คือ 1s2  ,  2s22p6  ,  3s23p63d10  ,  4s1 ซึ่งการจัดลักษณะเช่นนี้ทำให้ระดับพลังงานย่อยของ 3d–orbital มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่เต็มออร์บิทัล  ซึ่งเสถียรมากกว่าการจัดแบบ 1s2  ,  2s22p6  ,  3s23p63d9  ,  4s
                  ค.  โลหะแทรนซิชันมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า  เนื่องจากการจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย 3d–orbital  เป็นผลให้สามารถให้อิเล็กตรอนได้หลายตัว  ซึ่งต่างจากหมู่ IA  และ  IIA  จะมีเลขออกซิเดชันได้เพียงค่าเดียวคือ +1 และ +2 2.  ธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4  มีสมบัติหลายประการคล้ายกับธาตุ และ  Ca  เช่น  พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 และอิเล็กโทรเนกาติวิตีมีค่าต่ำ  แต่จุดหลอมเหลว  จุดเดือด  ความหนาแน่นมีค่าสูง  และสูงมากกว่าหมู่ IA  และ  IIA
             ก.  ดหลอมเหลว  จุดเดือดของโลหะแทรนซิชันสูงกว่าโลหะหมู่ IA  และ  IIA  มาก  ยกเว้น Zn  มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดใกล้เคียงกับหมู่ IA  และ  IIA  แต่จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของโลหะแทรนซิชันด้วยกันเองมีค่าใกล้เคียงกัน  จุดเดือดของโลหะขึ้นอยู่กับพันธะโลหะ  และความแข็งแรงของพันธะโลหะจะแปรผกผันกับขนาดอะตอม  อะตอมที่มีขนาดเล็กจะมีพันธะโลหะแข็งแรงมากกว่า
             ข.  ค่า IE1  ของโลหะแทรนซิชันจะสูงกว่าหมู่ IA  และ  IIA แต่แนวโน้มของโลหะแทรนซิชันจะมีค่า IE1  ใกล้เคียงกัน
             ค.  ขนาดอะตอมของโลหะแทรนซิชันจะเล็กกว่าโลหะหมู่ IA  และ  IIA  แต่มีขนาดอะตอมใกล้เคียงกันเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น